This is a <B> Bold </B> word
Tag, Element หมายถึงคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบของ Text ในหนังสือบางเล่มจะเรียกเป็น คำสั่ง บางเล่มจะเรียกเป็น Element แต่ในที่นี้เพื่อให้สื่อความหมายได้เข้าใจดียิ่งขึ้นกับภาษาไทย จะใช้คำว่า คำสั่ง แทน โดยคำสั่งของ HTML จะอยู่ภายในเครื่องหมาย < และ> เช่น
ตัวอักษร a, b, c,
, z คือ Text
<B> และ </B> คือคำสั่งโดยทั่วไปจะมีคำสั่งเริ่มต้นและคำสั่งปิดท้าย ( มี / ) โดยจะใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็มีผลเหมือนกัน จากตัวอย่างหมายถึงการทำข้อความ Bold ให้เป็นตัวเข้ม ผลลัพธ์ที่ได้คือ
3. Attribute เป็นตัวเลือกที่คำสั่งบางคำสั่งของ HTML สามารถใช้ได้ (แต่จะใช้หรือไม่ก็ได้เปรียบเสมือนเป็น Option นั่นเอง) Attribute จะทำให้คำสั่งต่างๆ ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น คำสั่ง <HR> จะใช้ในการสร้างเส้นแนวนอน (Horizontal Line) จากซ้ายไปขวาของจอภาพแต่ถ้าต้องการสร้างให้เส้นนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง หรือมีความยาวสั้นลงกว่าเดิม ก็สามารถใช้ Attribute ของคำสั่งนี้มาช่วยได้
<HR Noshade Size=40 Width=20%>
ในที่นี้ No shade, Size และ Width ก็คือ Attribute ของคำสั่ง <HR> นั่นเอง Attribute บางตัวก็ใช้ได้เฉพาะกับบางคำสั่ง แต่ Attribute บางตัวก็ใช้ได้กับหลายๆคำสั่งเช่นกัน
กฎในการใช้ HTML
- แต่ละคำสั่ง จะต้องอยู่ในเครื่องหมาย < และ > เท่านั้น
- จะใช้ตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ได้ มีความหมายเดียวกัน เช่น <title>, <Title> หรือ <TITLE> ต่างก็ให้ความหมายเดียวกัน
- แทบทุกคำสั่ง จะมีคำสั่งเปิด และคำสั่งปิด โดยคำสั่งปิด จะมี / รวมอยู่ด้วย แต่ก็มีบางคำสั่งที่จะมีตัวปิดหรือไม่ก็ได้ เช่น <P> หรือบางคำสั่งก็ไม่มีตัวปิดเลย เช่น <BR>
- ในการพิมพ์เอกสาร HTML นั้นจะพิมพ์ติดต่อกันทั้งข้อความและคำสั่งหรือพิมพ์แยกบรรทัดหรือเคาะช่องว่างก็แล้วแต่ผู้พิมพ์ แต่การพิมพ์ให้ดูสวยงาม จะทำให้ง่ายต่อการอ่านและแก้ไขภายหลัง
โครงสร้างคำสั่งภาษา HTML
โครงสร้างคำสั่งภาษา HTML สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ
1.คำสั่งหัวเรื่อง 2.คำสั่งเนื้อความ
1.คำสั่งหัวเรื่อง
เป็นคำสั่งชื่อโฮมเพจและข้อความอธิบายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นเจ้าของ โดยชื่อโปรแกรมดังกล่าวจะไปปรากฏบนเมนูของโปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บเบราเซอร์ในขณะที่โปรแกรมได้รับการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ดังนั้น หัวเรื่องจึงหมายถึงเอกลักษณ์ประจะโฮมเพจ เพราะเนื่องจากโปรแกรม HTML เป็นโปรแกรมของโฮมเพจ
2.คำสั่งเนื้อความ
เป็นคำสั่งแสดงข้อความบนโฮมเพจ ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งแสดงแบบของตัวอักษรของคำที่ใช้ในการอธิบาย คำสั่งที่ใช้ในการจัดวางหน้าของข้อความ คำสั่งเพื่อการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์ลิงค์ และคำสั่งเชื่อโยงรูปภาพ เป็นต้น
ตารางแสดงคำสั่งหัวเรื่อง
คำสั่งหัวเรื่อง |
คำอธิบาย |
<TITILE>...</TITLE> |
เพื่อแสดงไฟล์เอกสาร HTML หรือ ชื่อ HOMEPAGE |
<ISNDEX> |
เพื่อแสดงไฟล์เอกสาร HTML ชนิดที่สืบค้นได้ |
<NEXTID> |
เพื่อแสดงเลขประจำตัวของไฟล์เอกสาร HTML |
<LINK> |
เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างไฟล์เอกสารนี้กับไฟล์เอกสารอื่น ที่เกี่ยวข้อง |
<BASE> |
เพื่ออ้างอิงรหัสสืบค้น URL |
<META> |
เพื่อแสดงข่าวสารของไฟล์เอกสาร HTML |
ตารางแสดงคำสั่งเนื้อความ
คำสั่งเนื้อความ |
คำอธิบาย |
<H1>
</H1> |
เพื่อกำหนดแบบหัวข้อให้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่สุด |
<H2>
</H2> |
เพื่อกำหนดแบบหัวข้อให้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่อันดับสอง |
<H3>
</H3> |
เพื่อกำหนดแบบหัวข้อให้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่อันดับสาม |
<H4>
</H4> |
เพื่อกำหนดแบบหัวข้อให้เป็นตัวอักษรขนาดขนาดกลาง |
<H5>
</H5> |
เพื่อกำหนดแบบหัวข้อให้เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก |
<H6>
</H6> |
เพื่อกำหนดแบบหัวข้อให้เป็นตัวอักษรขนาดเล็กที่สุด |
<A>
</A> |
เพื่อสร้างไฮเปอร์สำหรับการเชื่อมโยง |
<P> |
เพื่อกำหนดย่อหน้าของข้อความ |
<BR> |
เพื่อเว้นบรรทัดเมื่อจบข้อความ |
<HR> |
เพื่อขีดเส้นใต้ในแนวนอน |
<PRE>
</PRE> |
เพื่อกำหนดแบบอักษรของข้อความ |
<UL>
</UL> |
เพื่อแสดงรายการโดยไม่ต้องเรียงลำดับ |
<OL>
</OL> |
เพื่อแสดงรายการโดยเรียงลำดับ |
<LI> |
เพื่อแสดงข้อความแต่ละบรรทัดตามคำสั่ง<UL>และ<OL> |
<DL>
</DL> |
เพื่อแสดงการอธิบายรายการ |
<DT> |
เพื่อแสดงคำที่ต้องการอธิบายภายใต้คำสั่ง<DL> |
<DD> |
เพื่อแสดงข้อความอธิบายคำที่กำหนดโดยคำสั่ง<DT> |
<B>
</B> |
เพื่อกำหนดตัวอักษรเป็นหนา |
<I>
</I> |
เพื่อกำหนดตัวอักษรเป็นเอน |
<A>
</A> |
เพื่อกำหนดการเชื่อโยงไฟล์HTMLสำหรับการโอนย้าย |
<IMG> |
เพื่อแสดงภาพจากการเชื่อมโยง |
<TABLE>..</TABLE> |
เพื่อกำหนดการสร้างตาราง |
<caption>
</caption> |
เพื่อกำหนดข้อความอธิบายตาราง |
<TH>
</TH> |
เพื่อกำหนดข้อความหัวเรื่องของตาราง |
<TR>
</TR> |
เพื่อกำกับการแสดงข้อความแต่ละแถวของตาราง |
<TD>
</TD> |
เพื่อกำหนดข้อความในแถวของตาราง |
คำสั่งเนื้อความ |
คำอธิบาย |
<FORM>
</FORM> |
เพื่อกำหนดช่องว่างสำหรับกรอกข้อมูล |
<INPUT> |
เพื่อกำหนดข้อมูลสำหรับใช้ในคำสั่ง<FORM>
</FORM> |
<textarea>..</textarea> |
เพื่อกำหนดช่องว่างสำหรับกรอกข้อมูล |
โครงสร้างคำสั่งของโปรแกรม HTML
การเขียนภาษา HTML เบื้องต้น
1. รูปแบบตัวอักษร (Font) / สี (Color)
การกำหนดหัวเรื่อง
เป็นส่วนของคำสั่ง Tag ที่เป็นตัวกำหนด ตัวอักษร ให้มีความหนา และขนาดตัวอักษร ให้มีความแตกต่าง จากอักษรปกติ กล่าวคือเป็นส่วน ที่จะทำให้หัวเรื่อง มีความแตกต่าง จากอักษรปกติ เพราะหัวเรื่องจะต้อง เป็นส่วนที่มี จุดเด่นมากที่สุด ซึ่งคำสั่ง <Hx> จะมีขนาดของ ตัวอักษร อยู่ 6 ขนาด คือ ขนาดใหญ่สุด คือ <H1> ( ใช้มาก ) และเล็กที่สุดคือ <H6> (ใช้น้อย )
รูปแบบคำสั่ง
<Hx>........<Hx> โดยที่ x คือค่าตัวเลขตั่งแต่ 1 ถึง 6
เมื่อเราใช้ Tag คำสั่งหัวเรื่อง ข้อมูลที่อยู่บรรทัด เดียวกับ Tag จะถูกขึ้นบรรทัดใหม่ โดยอัตโนมัติ แม้ว่าเรา จะไม่ใช้ คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่ ก็ตาม
ตัวอย่างการใช้คำสั่งการแสดงผล
การกำหนดหัวเรื่องH1
การกำหนดหัวเรื่องH2
การกำหนดหัวเรื่องH3
การกำหนดหัวเรื่องH4
การกำหนดหัวเรื่องH5
การกำหนดหัวเรื่องH6
นี่คือตัวอักษรปกติ
<HTML>
<HEAD>
<TITLE> การกำหนดหัวเรื่อง</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<H1> การกำหนดหัวเรื่องH1 </H1>
<H2> การกำหนดหัวเรื่องH2</H2 >
<H3> การกำหนดหัวเรื่องH3</H3>
<H4> การกำหนดหัวเรื่องH4</H4>
<H5> การกำหนดหัวเรื่องH5</H5>
<H6> การกำหนดหัวเรื่องH6</H6> นี่คือตัวอักษรปกติ
</BODY>
</HTML>
- คำสั่ง<FONT SIZE>
เป็นคำสั่งที่ใช้ ในการกำหนด ขนาดตัวอักษร ในบรรทัดเดียวกัน ให้มีขนาดที่ แตกต่างกันได้ ซึ่งมีค่าได้ ตั้งแต่ -7 ถึง +7 ซึ่งค่าตัวเลข ยิ่งมาก ขนาดของตัวอักษรก็จะ ยิ่งใหญ่มากขึ้น ;
รูปแบบคำสั่ง
<FONT SIZE="number">.....</FONT>
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
<TITLE> ขนาดตัวอักษร ( Fontsize )</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<FONT SIZE="+2">ทดลองการกำหนดขนาด FONT SIZE="+2"</FONT><BR>
<FONT SIZE="-1">ทดลองการกำหนดขนาด FONT SIZE="-1"</FONT><BR>
</BODY>
</HTML> |
การแสดงผล
ทดลองการกำหนดขนาด FONT SIZE="+2"
ทดลองการกำหนดขนาด FONT SIZE="-1" |
|
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกำหนดรูปแบบตัวอักษร</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<B>ตัวอักษรหนา</B><Br>
<I>ตัวอักษรเอียง</I><Br>
<U>ตัวอักษรมีเส้น</U><Br>
<B><I><U>การใช้คำสั่งทั้ง 3 แบบพร้อมกัน</U></I></B><Br>
</BODY>
</HTML> |
- การกำหนดรูปแบบตัวอักษร
ในที่นี้จะได้ทราบถึงการกำหนดรูปแบบตัวอักษรให้เป็น ตัวอักษรเอียง<I>,ตัวอักษรหนา<B>,และตัวอักษรมีเส้น<U>
รูปแบบคำสั่ง
<B>......</B>
<I>......</I>
<U>......</U>
การแสดงผล
ตัวอักษรหนา
ตัวอักษรเอียง
ตัวอักษรมีเส้น
การใช้คำสั่งทั้ง 3 แบบพร้อมกัน |
|
- การจัดวางตำแหน่งข้อความโดยใช้ ALIGN
เป็นคำสั่งที่ใช้ ในการกำหนดให้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ หรือ ตัวอักษรขึ้นบรรทัดใหม่ แล้วอยู่ ชิดซ้าย,ชิดขวา,กึ่งกลาง ตามที่เรากำหนด
รูปแบบคำสั่ง
<P ALIGN=" Left or Right or Center">......</P>
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>-การจัดวางตำแหน่งข้อความ-โดยใช้ ALIGN</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<P ALIGN= "Left">Left</P>
<P ALIGN="Right">Right</P>
<P ALIGN="Center">Center</P>
</BODY>
</HTML> |
การแสดงผล
- การจัดวางตำแหน่งข้อมูลไว้กึ่งกลาง
ข้อมูล รูปภาพ ตาราง ฟอร์ม ฯลฯ ที่อยู่ภายใน Tag คำสั่ง <CENTER> จะถูกกำหนด ให้อยู่กึ่งกลางของจอภาพ หรือ อยู่กึ่งกลางของตาราง
รูปแบบคำสั่ง <CENTER>......</CENTER> ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การจัดวางตำแหน่งข้อมูลไว้กึ่งกลาง</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<CENTER>ข้อความ หรือ ภาพ หรือ อื่นๆ ที่ต้องการให้อยู่ตรงกลาง </CENTER>
</BODY>
</HTML> |
การแสดงผล
ข้อความ หรือ ภาพ หรือ อื่นๆ ที่ต้องการให้อยู่ตรงกลาง |
|
- การกำหนดสีของพื้นฉากหลัง เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดสีของ Background จอภาพให้มีสีต่างๆตามต้องการโดยการกำหนดเลขฐาน16
รูปแบบคำสั่ง <BODY BGCOLOR="#เลขฐาน16 จำนวน 6 ตัว">......</BODY>
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกำหนดสีของพื้นฉากหลัง</TITLE>
</HEAD>
<BODY BGCOLOR="#0000FF" TEXT="#FFFFFF">
กำหนดBACKGROUNDเป็นสีน้ำเงิน
</BODY>
</HTML> |
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
กำหนดBACKGROUND เป็นสีน้ำเงิน |

การแสดงผล
- การกำหนดสีของตัวอักษร เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดสี ของตัวอักษร ทั้งหน้าเอกสาร ให้มีสีต่างๆตามต้องการ โดยการกำหนดเลขฐาน16
รูปแบบคำสั่ง <BODY TEXT="#เลขฐาน16 จำนวน 6 ตัว">......</BODY>
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกำหนดสีของตัวอักษร< /TITLE>
</HEAD>
<BODY TEXT="#ff0000">
กำหนดตัวอักษร เป็นสีแดง
</BODY>
</HTML> |
การแสดงผล
- การกำหนดสีของตัวอักษรเฉพาะส่วน เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดสีของตัวอักษรให้มีสีต่างๆเฉพาะส่วนตามต้องการโดยการกำหนดเลขฐาน16
รูปแบบคำสั่ง < FONT COLOR="#เลขฐาน16 จำนวน 6 ตัว">......</FONT>
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกำหนดสีของตัวอักษรเฉพาะส่วน</TITLE>
</HEAD>
<BODY BGCOLOR="#FFFFFF" TEXT="#000000">
ทดสอบ <FONT COLOR="#FF0000"> กำหนดตัวอักษรเฉพาะส่วน เป็นสีแดง</FONT>โดยคำสั่ง FONTCOLOR
</BODY >
</HTML > |
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
ทดสอบกำหนดตัวอักษรเฉพาะส่วน เป็นสีแดง โดยคำสั่ง FONTCOLOR |
การแสดงผล
2.คำสั่งรายการ [ Lists ]
การแสดงข้อมูลแบบรายการเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความสะดวก, รวดเร็วในการอธิบายรายละเอียดต่างๆของข้อมูลในกรณีที่มีข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งจะมีลักษณะการแสดงผล 3 แบบ คือ
- แบบมีหมายเลขกำกับ ( Number Styles )
- แบบมีสัญลักษณ์กำกับ ( Bulleted Styles )
- แบบไม่มีสัญลักษณ์กำกับ ( No Bulleted Styles )
|
- การแสดงรายการแบบมีหมายเลขกำกับ ( Number Styles / Order Lists )
รูปแบบคำสั่ง
<OL TYPE="รูปแบบ">.................
<LI>..................
<LI>..................
<LI>...................
-
-
<Lx>.................
</OL> |
*มีการแสดงแบบเรียงลำดับหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร, ตัวเลข ฯลฯ *
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การแสดงรายการแบบมีหมายเลขกำกับ </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
ทดสอบ
<OL TYPE="A">
<LI>รายการที่1
<LI>รายการที่2
<LI>รายการที่3
</OL>
</BODY>
</HTML> |
ทดสอบ
- รายการที่1
- รายการที่2
- รายการที่3
|
การแสดงผล
- การแสดงรายการแบบมีสัญลักษณ์กำกับ ( Bulleted Styles )
รูปแบบคำสั่ง
<UL TYPE="รูปแบบ">.................
<LI>..................
<LI>..................
<LI>...................
-
-
<Lx>.................
</UL> |
*มีการแสดงสัญลักษณ์ 3 รูปแบบ คือ disc , circle , square*
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การแสดงรายการแบบมีสัญลักษณ์กำกับ ( Bulleted Styles ) </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
ทดสอบ DISC
<UL type="disc">
<LI>รายการที่1
<LI>รายการที่2
<LI>รายการที่3
</UL>
ทดสอบ CIRCLE
<UL type="circle">
<LI>รายการที่1
<LI>รายการที่2
<LI>รายการที่3
</UL>
ทดสอบ SQUARE
<UL type="square">
<LI>รายการที่1
<LI>รายการที่2
<LI>รายการที่3
</UL>
</BODY>
</HTML> |
การแสดงผล
ทดสอบแบบ DISC
- รายการที่1
- รายการที่2
- รายการที่3
ทดสอบแบบ CIRCLE
- รายการที่1
- รายการที่2
- รายการที่3
ทดสอบแบบ SQUARE
- รายการที่1
- รายการที่2
- รายการที่3
|
|
- การแสดงแบบรายการแบบไม่มีสัญลักษณ์กำกับ ( No Bulleted Styles )
รูปแบบคำสั่ง
<DL>คำจำกัดความ
<DT>คำจำกัดความย่อย
<DD>รายละเอียด
</DL>
การแสดงผล
หัวข้อ
รายการที่1
รายละเอียด 1.1
รายละเอียด 1.2
รายละเอียด 1.3
รายการที่2
รายละเอียด 2.1
รายละเอียด 2.2
รายละเอียด 2.3 |
|
3.รูปภาพ ( IMAGE )
รูปภาพถือเป็นส่วนประกอบ ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของเว็บเพจ เพราะจะทำให้เว็บเพจน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยปกติแล้ว รูปภาพที่สามารถนำมาประกอบ เว็บเพจได้จะมีด้วยกันสองประเภท คือไฟล์ JPG. ( JPEG. ) และGIF.
รูปแบบคำสั่ง
<IMG src="ตำแหน่งและชื่อไฟล์ JPG/GIF">
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>รูปภาพ ( IMAGE ) </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<IMG src="enter.gif">
</BODY>
</HTML> |
การแสดงผล
-การกำหนดขนาดของรูปภาพ
รูปแบบคำสั่ง
<IMG src="ตำแหน่งและชื่อไฟล์ JPG/GIF" WIDTH="number" HEIGHT="number">
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>รูปภาพ ( IMAGE ) </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<IMG src="enter.gif">
</BODY>
</HTML> |
การแสดงผล
-การกำหนดขนาดของรูปภาพ
รูปแบบคำสั่ง
<IMG src="ตำแหน่งและชื่อไฟล์ JPG/GIF" WIDTH="number" HEIGHT="number">
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกำหนดขนาดของรูปภาพ </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<IMG src="images/enter.gif" WIDTH="100" HEIGHT="100">
</BODY>
</HTML> |
การแสดงผล
- การใช้รูปภาพเป็นBackground
รูปแบบคำสั่ง <BODY BACKGROUND="ชื่อไฟล์ JPG/GIF">
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

การแสดงผล

Attribute ต่างๆ ที่จำเป็นต้องรู้ เกี่ยวกับคำสั่ง image
Src = url ชื่อที่อยู่ รูป
ALIGN = "center or left or right or top or bottom or middle"
ALT = "คำอธิบายรูป"
BORDER = "number ของขอบรูป ถ้าไม่ต้องการให้มีขอบ ค่าเป็น 0"
HEIGHT = "ความสูงของรูป"
WIDTH = "ความกว้างของรูป"
VSPACE = พื้นที่ว่างด้านบนและล่างของรูป"
HSPACE = "พื้นที่ว่างด้านซ้ายและขวาของรูป"
4.การเชื่อมโยงข้อมูล ( LINK)
โดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
1.แบบ INTERNAL LINKS คือการเชื่อมโยงข้อมูลภายในไฟล์ของเราเอง และ
2.แบบ EXTERNAL LINKS คือ การเชื่อมโยงข้อมูลออกไปสู่ภายนอกไฟล์ หรือ นอกโฮมเพจของเรา
- คำสั่งการเชื่อมโยงข้อมูลภายในไฟล์ ( Internal Links)
คำสั่งการเชื่อมโยงแบบ Internal Links จะแบ่งออกเป็น2ส่วนด้วยกันคือ
1.ชื่อเป้าหมายที่ต้องการแสดงผล
รูปแบบคำสั่ง < A NAME="ชื่อเป้าหมาย >.ข้อความ หรือ รูปภาพที่จะใช้เป็นตัวเป้าหมาย... < /A>
2.คำสั่งในการกำหนดการแสดงผลการเชื่อมโยงของเป้าหมาย
รูปแบบคำสั่ง < A HREF="#ชื่อเป้าหมาย">.ข้อความ หรือ รูปภาพที่จะใช้เป็นตัว ลิงค์.. </A>
- การเชื่อมโยงข้อมูลออกไปสู่ภายนอกไฟล์( External Links) มี 2 แบบ คือ
1.การเชื่อมโยงภายในโฮมเพจ การกำหนดเป้าหมายก็เพียงแต่กำหนด ชื่อของไฟล์ก็เพียงพอแล้ว 2..การเชื่อมโยงออกสู่ภายนอกโฮมเพจ ซึ่งจะต้องกำหนดชื่อของของโฮมเพจที่เราต้องการเชื่อมโยงโดยละเอียด
รูปแบบคำสั่ง < A HREF="URL">..ข้อความ หรือ รูปภาพที่จะใช้เป็นตัว ลิงค์... </A>
<HTML>
<HEAD>
<TITLE> การเชื่อมโยงข้อมูลออกไปสู่ภายนอกไฟล์ ( External Links ) </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
ทดสอบ การเชื่อมโยงข้อมูลออกไปสู่ภายนอกไฟล์
< A HREF="http://www.cyber2net.com/" target="_blank" >ไปสู่ Cyber2Net</A>
</BODY>
</HTML> |
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
การแสดงผล
Attribute ของคำสั่ง Link ที่ควรทราบ
<A HREF="url" NAME="กำหนดชื่อเป้าหมายของ Link ภายในไฟล์ " TARGET=" ใช้กำหนดว่า จะให้มีการเปิดเป้าหมายของ Link ไว้ที่ตำแหน่งใด">
คำสั่ง TARGET จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะคือ
1. TARGET="_blank หมายถึง จะมีการ เปิด Windows ใหม่ให้เมื่อ มีการ Click ที่ลิงค์
2. TARGET="_top หมายถึง จะไม่มีการ เปิด Windows ใหม่ แต่ Link ที่สร้างจะทำการแสดงผลทับ Windows เดิม
3. TARGET="_parent" หมายถึง จะไม่มีการ เปิด Windows ใหม่ แต่จะมีการแสดงผลของ Link ทับไฟล์ ที่สร้าง Link เดิมนั่นเอง
4.TARGET="ชื่อเป้าหมาย" หมายถึง จะมีการแสดงผล ของ Link ไปยังเป้าหมาย NAME ที่กำหนด ที่ Frame (Name ของ Frame) ที่สร้างขึ้น
5.การสร้างตาราง (TABLE)
การสร้างตาราง ถือเป็น คำสั่งที่มีความ สำคัญ อย่างมาก ต่อการจัดหน้าเอกสาร ของเว็บเพจ เพราะ เราสามารถ จัดวาง รูปภาพ ข้อความ หรือแม้แต่ ตาราง ฯลฯ ไว้ได้ที่ตำแหน่ง ต่างๆ โดยใช้คำสั่ง การสร้าง TABLE
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

การแสดงผล
ช่องที่ 1 |
ช่องที่ 2 |
ช่องที่ 3 |
ช่องที่ 4 |
ช่องที่ 5 |
ช่องที่ 6 |

Attribute ที่สำคัญ ของ TABLE
- border ใช้กำหนดความหนา ของขอบ ตาราง ถ้าไม่ต้องการให้มี ขอบ กำหนดเป็น 0
- cellPadding ใช้กำหนดพื้นที่ว่างๆภายในขอบเซลของตาราง
- cellSpacing ใช้กำหนดช่องว่างระหว่างเซล
- width ใช้กำหนดความกว้างของ Table และ ความกว้างของช่องเซลล์ สามารถ กำหนดเป็นตัวเลขหน่อย pixel หรือ กำหนดเป็น % ก็ได้
- height ใช้กำหนดความสูงของ Table และ ความสูงของช่องเซลล์ สามารถ กำหนดเป็นตัวเลขหน่อย pixel หรือ กำหนดเป็น % ก็ได้
- bgcolor ใช้กำหนดสีพื้นของ Table และ สีพื้นของช่องเซลล์
Attribute ที่สำคัญ ของ TD
- align ใช้กำหนด ตำแหน่งของ สิ่งที่จะแสดงภาย ในเซลล์ ในแนวนอน มี left ,center, right
- valign ใช้กำหนด ตำแหน่งของ สิ่งที่จะแสดงภาย ในเซลล์ ในแนวตั้ง มี top ,middle, bottom
Attribute ที่น่าสนใจอื่นๆ Colspan (รวม cell แนวนอน ) (ตัวอย่างการใช้อยู่ด้านล่าง) , Rows pan ( รวม cell แนวตั้ง )
6. การแบ่งหน้าจอแสดงผล (FRAME)
รูปแบบคำสั่ง
<HTML>
<TITLE>....................</TITLE>
<FRAMESET ROWS [หรือ COLS] ="number, number">
<FRAME src="ชื่อไฟล์ที่ต้องการแสดงผล หรือ URL">
<FRAME src="ชื่อไฟล์ที่ต้องการแสดงผล หรือ URL">
</FRAMESET>
</HTML>
โดยที่...
ROWS = แบ่งแนวนอน
COLS = แบ่งแนวตั้ง
number = ตัวเลข เป็น pixels หรือ ตัวเลขเป็น % หรือ * (หมายถึงจำนวนที่เหลือ)
<HTML>
<TITLE>การแบ่งจอภาพ ( FRAME )</TITLE>
<FRAMESET ROWS="20%,*">
<FRAME src="logo.html" >
<FRAME src="main.html">
</FRAMESET>
</HTML> |
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
.
การแสดงผล
ข้อมูลในไฟล์ menu.html |
ข้อมูลในไฟล์ main.html |
.
Attribute ที่สำคัญของ FRAME
- framespacing ใช้กำหนด พื้นที่ว่างๆรอบเฟรม
- frameborder ใช้กำหนด ขอบความหนาของเฟรม
- marginwidth ใช้กำหนด ขอบซ้าย และขวาของเฟรม
- marginheight ใช้กำหนด ขอบบน และล่าง ของเฟรม
- name กำหนดชื่อ ให้กับเฟรมเพื่อใช้เป็นเป้าหมายให้กับ คำสั่ง Link
- noresize กำหนด ให้ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนขนาดเฟรมเองได้
- scrolling กำหนดลักษณะ ของ scroll Bar มี 3 ค่าคือ
AUTO (เมื่อมีการแสดงผล เกินหน้าจอให้แสดง scroll Bar อัตโนมัติ)
NO (กำหนดไม่ให้มีการแสดง scroll Bar )
YES ( กำหนดให้มีการแสดง scroll Bar )
7.การสร้างแบบสอบถาม (From)
ประเภทของคำสั่ง ในการสร้างขอบเขตของแบบสอบถาม โดยใช้ครื่องหมายควบคุมพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
A. <TEXTAREA>
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสร้างกรอบป้อนข้อมูลได้แบบหลายบรรทัดและสามารถกำหนดข้อมูลเริ่มต้นในกรอบได้
รูปแบบคำสั่ง <TEXTAREA>............... </TEXTAREA>
ตัวอย่างการแสดงผล